-
Call Us
-
Email Us
-
Global Certificate
ISO 14001:2015
- เข้าสู่ระบบ
คอนกรีตบล็อกกลวง
Reference : P04-0004
![]() |
คอนกรีตบล็อก คัดวัตถุดิบที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีเครื่องจักรที่มีมาตรฐานและควบคุมโดยช่างชำนาญการ เพื่อประสิทธิภาพของคอนกรีตบล็อกทุกก้อนใช้งานง่าย มีความแกร่ง พื้นผิวอิฐเรียบแต่ไม่ลื่น รูปเหลี่ยมคมชัดเจน ก่อง่าย ฉาบไว |

คอนกรีตบล็อก ![]() |
คัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยและควบคุมการผลิตโดยทีมงานคุณภาพที่มีความชำนาญ เพื่อให้ได้คอนกรีตบล็อกคุณภาพได้มาตรฐาน ทุกก้อน ใช้งานง่าย มีความแกร่ง พื้นผิวอิฐเรียบแต่ไม่ลื่น รูปเหลี่ยมคมชัดเจน ก่อง่าย ฉาบไว |
คุณสมบัติเด่น |
• รูปทรงและขนาดได้มาตรฐานทุกก้อน ผิวเรียบ เหลี่ยมคม เข้ารูปทุกก้อน ก่อง่าย ฉาบไว ประหยัดเวลา |
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
ประเภทคอนกรีตบล็อก |
อิฐบล็อก มอก. หรือที่เรียกกันว่า คอนกรีตบล็อกนั้นตามที่ ผลิตจะแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้ • มอก.58 คอนกรีตบล็อกกลวงไม่รับน้ำหนัก(hollow nonloadbearing concrete masonry unit) หมายถึงคอนกรีตบล็อกกลวงใช้สำหรับผนังที่ออกแบบ โดยไม่รับน้ำหนักบรรทุก นอกจากน้ำหนักตัวเอง • มอก.60 คอนกรีตบล็อกเชิงตันรับน้ำหนัก(solid loadbearing concrete masonry unit) หมายถึงคอนกรีตบล็อกเชิงตันใช้สำหรับผนังที่ออกแบบโดย ให้รับน้ำหนักบรรทุก และน้ำหนักตัวเอง • มอก.2895 คอนกรีตบล็อกเชิงตันไม่รับน้ำหนัก (solid nonloadbearing concrete masonry unit) หมายถึงคอนกรีตบล็อกเชิงตันไม่รับน้ำหนักใช้สำหรับผนัง ที่ออกแบบโดยไม่รับน้ำหนักบรรทุก นอกจากน้ำหนักตัวเอง |
“คัดสรรวัตถุดิบคุณภาพ” ควบคุมตรวจสอบโดยทีมงานเฉพาะ |
วัตถุดิบในการผลิต ผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ ตรงตามมาตรฐานก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิต ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ คอนกรีตบล็อกที่ผลิตเป็นประเภทไม่ควบคุมความชื้น คัดสรรวัสดุดิบที่มีการตรวจสอบคุณภาพอย่างถูกวิธี โดยทีมงาน เฉพาะทางคุณภาพ QC มั่นใจในคุณภาพ คอนกรีตบล็อกแข็งแกร่งทนทาน เหลี่ยมมุมชัดเจน ผิวเรียบ พื้นผิวก่อฉาบติดง่าย ขนาดมาตรฐานเท่ากันทุกก้อน |
การตรวจสอบคุณภาพ |
คอนกรีตบล็อกที่ |
ประเภทการทดสอบ |
• การทดสอบลักษณะทั่วไปของคอนกรีตบล็อก เช่น ต้องไม่มีรอยแตกร้าวหรือส่วนเสียหายที่เป็นอุปสรรคต่อการก่อ • การทดสอบความหนาของเปลือกและขนาดของคอนกรีตบล็อก เช่น หากเป็นคอนกรีตบล็อกกลวงความหนาของเปลือกต้องไม่น้อยกว่า 13 มม. โดยค่าดังกล่าวคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน ฑ3 มม. • การทดสอบความต้านแรงอัดของคอนกรีตบล็อกชนิดต่างๆ |
วิธีการทดสอบ |
1. ใช้คอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนักประเภทและขนาดเดียวกัน จะทำการส่งมอบหรือซื้อขายในระยะเวลาเดียวกัน 2. การชักตัวอย่างเพื่อการทดสอบ 2.1 การชักตัวอย่างเพื่อการทดสอบ จะเป็นไปตาม มอก.109 2.2 เกณฑ์ตัดสิน ในกรณีที่ทดสอบแล้วไม่ผ่าน อาจคัดบางส่วนออก แล้วเลือกชักตัวอย่างใหม่จากส่วนที่เหลือเพื่อทดสอบใหม่ ถ้าตัวอย่างใหม่จากชุดที่สองนี้ทดสอบแล้วไม่ผ่านอีก ให้ถือว่าคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนักทั้งรุ่นไม่เป็นไปตามมาตรฐาน |
การเลือกใช้คอนกรีตบล็อกให้เหมาะกับลักษณะงาน |
![]() |
คอนกรีตบล็อกขนาด 7 ซม. (ประเภทคอนกรีตบล็อกกลวงไม่รับน้ำหนัก) ใช้สำหรับผนังภายในอาคาร/บ้าน ที่ต้องการผนังคอนกรีต คุณภาพสูง ดูดซึมน้ำต่ำ ทึบเสียงได้ดี ทนไฟได้ 4 ชม. เช่น ผนังบ้าน , ผนังอาคาร , ผนังคอนโดมิเนียม , ผนังโรงงาน |
![]() |
คอนกรีตบล็อกขนาด 9 ซม. (ประเภทคอนกรีตบล็อกกลวงไม่รับน้ำหนัก) เหมาะสำหรับผนังโรงงาน , โกดังขนาดเล็ก , อาคารสินค้า หรือรั้วกำแพงที่ต้องการความแข็งแรงสูง |
![]() |
คอนกรีตบล็อกขนาด 14 ซม. (ประเภทคอนกรีตบล็อกกลวงไม่รับน้ำหนัก) เหมาะสำหรับผนังโรงงาน/อาคารทีต้องการความแข็งแรงสูง ป้องกันผนังจากการกระทบ กับเครื่องจักร เช่น ผนังโรงสีข้าว , ผนังอาคารเก็บสินค้าขนาดใหญ่ |
การนำคอนกรีตบล็อก![]() |
สูตรการคำนวณ การคำนวณคอนกรีตบล็อกต่อตารางเมตร |