-
Call Us
-
Email Us
-
Global Certificate
ISO 14001:2015
- เข้าสู่ระบบ
หินก่อสร้าง
Reference : P01-0010
![]() |
หินก่อสร้าง มีความแข็งแกร่งดีพอ คงทนต่อแรงบดอัดได้มาก ง่ายต่อการยึดเกาะและแทรกตัวของซีเมนต์ร่วมทั้งส่วนผสมอื่นได้ดี มีค่าความเป็นหินปูนสูง มีความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ) สูง มี Gradation ตามมาตรฐาน ASTM C33 |

หินก่อสร้างผาทองกรุ๊ปผลิตจากเหมืองหิน “ประเภทหินปูนแท้” |
ผ่านกระบวนการย่อยด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยและควบคุมการผลิตด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ได้ค่าสัดส่วนขนาดคละของหินแต่ละขนาดตรงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมวลผสมคอนกรีต ตามมาตรฐาน ASTM C33 มาตรฐานงานทาง-กรมทางหลวง และมาตรฐานกรมโยธาธิการ มีระบบล้างน้ำในระหว่างกระบวนการย่อยเพื่อให้หินมีความสะอาดและยังมีวิศวกรผู้ชำนาญคอยควบคุม ให้คำแนะนำในทุกกระบวนการผลิตมีระบบการจัดส่งที่รวดเร็วและเพียงพอทันกับความต้องการของลูกค้า |
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คุณสมบัติเด่นหินก่อสร้าง |
• มีค่าความเป็นหินปูนสูง แข็งแกร่งสูง คงทนต่อการขัดสี และทนต่อแรงบดอัดได้มาก • มีค่าความถ่วงจำเพาะ (ถ.พ.) สูง ตามมาตรฐานการใช้งาน กรมชลประทาน มีความซึมน้ำต่ำ คงทนต่อปฏิกริยาเคมีและการสึกกร่อน • ขนาดเม็ดหินค่อนข้างกลม มีเหลี่ยม คล้ายรูปลูกบาศก์ ผิวไม่เป็นมัน ง่ายต่อการยึดเกาะและแทรกตัวของซีเมนต์และส่วนผสมอื่นๆได้ดี • มี Gradation ตามมาตรฐาน ASTM C33 และมาตรฐานกรมโยธาธิการ • Gradation หินคละ (หินคลุก) ได้ตามมาตรฐานกรมกรมทางหลวง • มีความสะอาด ปริมาณสารอินทรีย์ในเนื้อหินต่ำ • สามารถผลิตตาม Gradation ที่หน่วยงานต้องการ • มีการตรวจสอบคุณภาพในทุกขั้นตอนการผลิต โดยเจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ (QC) |
![]() |
มีแหล่งหินที่ดี • มีแหล่งหินที่ดี “เป็นประเภทหินปูนแท้” (Limestone) เป็นหินกลุ่มหินตะกอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า แร่แคลไซต์ (Calcite) (CaCO3) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนต ในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์และซากสิ่งมีชีวิต ซึ่งทับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผนึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรดเนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา ชมพูหรือ สีดำ และภูเขาหิน ปูนมักมียอดหยักแหลมเป็นหน้าผา |
![]() |
มีระบบดูแลจัดการที่ดี • มีการจัดการหน้าเหมือง อย่างถูกวิธี และทำการขุด เจาะ ระเบิด ด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย ควบคุมดูแลโดยวิศวกรชำนาญการที่มีความรู้เฉพาะทาง ก่อนคัดแยกขนาดและส่งเข้าสู่กระบวนการย่อย |
![]() |
ตรงตามมาตรฐาน • หินผ่านกระบวนการย่อยด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยควบคุมผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ได้ค่าสัดส่วนขนาดคละของหินแต่ละขนาด ตรงตามมาตรฐาน ASTM-C33 , มาตรฐานงานทาง-กรมทางหลวงและมาตรฐานกรมโยธาธิการ มีการตรวจสอบคุณภาพในทุกขั้นตอนการผลิต พร้อมมีเจ้าหน้าที่ QC ที่คอยให้บริการทางเทคนิคแนะนำ ตรวจสอบคุณภาพหิน และมีวิศวกรคอยให้คำแนะนำในทุกขั้นตอน |
![]() |
สะอาดพร้อมใช้งาน • มีระบบการล้างน้ำในระหว่างกระบวนการย่อยหิน ทำให้หินที่ผลิตออกมามีความสะอาด พร้อมจำหน่ายอีกทั้งยังป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดจากการผลิตด้วยระบบสเปรย์น้ำที่ติดตั้งทั่วบริเวณโรงโม่บดและโรงย่อยหิน |
![]() |
รางวัลการันตีคุณภาพ • ได้รับรางวัลสถานประกอบการเครือข่ายที่มีการดำเนินงาน ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง (CSR-DPIM Continuous Award 2015) กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, โครงการรักษามาตรฐานเหมืองแร่สีเขียว กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมดีเด่น EIA AWARD จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4 ปีซ้อนและรางวัลอื่นๆอีกมากมาย |
![]() |
พร้อมให้บริการ • มีสาขาที่พร้อมให้บริการเกี่ยวกับหินก่อสร้าง ทั้งหมด 5 สาขา ดังนี้ - สาขาทุ่งสง ต.ปากแพรก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช - สาขานาพรุ ต.นาพรุ อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช - สาขาพัทลุง ต.ท่าแค อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง - สาขาหาดใหญ่ ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา - สาขาเวียงสระ ต.เขานิพันธ์ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี |
ผลิตภัณฑ์หินก่อสร้าง |
มีการทำการตรวจสอบทดสอบคุณภาพ โดยทีม QC ดังต่อไปนี้ 1. มีการทดสอบค่าสัดส่วนขนาดคละของหิน (Sieve Analysis of Coarse Aggregate) ทดสอบ 2 ครั้งต่อเดือน มีวิธีการทดสอบ ดังต่อไปนี้ การคัดขนาดนี้ใช้หาขนาดเม็ด (particle size distribution) ของมวลผสมคอนกรีตทั้งละเอียดและหยาบ โดยให้ผ่านตะแกรงร่อนจากขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก แล้วเปรียบเทียบน้ำหนักที่ ผ่านหรือค้างตะแกรงร่อนขนาดต่างๆ กับน้ำหนักทั้งหมดของตัวอย่าง |
1.1 เครื่องมือ 1.1.1 ตะแกรงร่อนที่มีช่องผ่านเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดต่างๆ ตามต้องการ พร้อมเครื่องเขย่าตะแกรง 1.1.2 เครื่องชั่งที่สามารถชั่งได้ละเอียดถึงร้อยละ 0.2 ของน้ำหนักตัวอย่างทั้งหมด 1.1.3 เครื่องมือแบ่งตัวอย่าง(sample splitter) ขนาดต่างๆ 1.1.4 แปรงทำความสะอาดตะแกรงชนิดลวดทองเหลือง แปรงขนและแปรงพลาสติก 1.1.5 เตาอบที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ที่ 110?5 องศาเซลเซียส |
1.2 การเตรียมตัวอย่าง 1.2.1 นำตัวอย่างมาคลุกเคล้าให้เข้ากันและแยกด้วยวิธีแบ่งสี่ หรือใช้เครื่องมือแบ่งตัวอย่างในขณะที่ตัวอย่างมีความชื้น เพื่อลดการแยกตัว ถ้าตัวอย่างไม่มีส่วนละเอียดอาจจะแบ่งขณะที่ ตัวอย่างแห้งอยู่ก็ได้ ประมาณให้ได้น้ำหนักตัวอย่างเมื่อแห้งแล้วตามตารางดังนี้ |
ตารางน้ำหนักของตัวอย่างที่ใช้ในการคัดขนาด |
ขนาดตะแกรงร่อน/มิลลิเมตร | ส่วนที่ผ่านตะแกรง/ร้อยละโดยน้ำหนัก | น้ำหนักตัวอย่างต่ำสุด/กิโลกรัม |
4.75 | 90 ถึง 100 | 0.5 |
9.5 | 90 ถึง 100 | 1.0 |
12.5 | 90 ถึง 100 | 2.0 |
19.0 | 90 ถึง 100 | 5.0 |
25.0 | 90 ถึง 100 | 10.0 |
38.1 | 90 ถึง 100 | 15.0 |
50.0 | 90 ถึง 100 | 20.0 |
63.0 | 90 ถึง 100 | 25.0 |
75.0 | 90 ถึง 100 | 30.0 |
90.0 | 90 ถึง 100 | 35.0 |
1.3 วิธีคัดขนาด |
2. มีการทดสอบค่าความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity,Absorption) ทดสอบ 1 ครั้งต่อปี 3. มีการทดสอบหน่วยน้ำหนักและช่องว่างในมวลรวม (Unit Weight) ทดสอบ 1 ครั้งต่อปี 4. มีการทดสอบดัชนีความแบน (Flakiness Index) ทดสอบ 1 ครั้งต่อปีละเอียดกว่า 5. มีการทดสอบดัชนีความยาว (Elongation Index) ทดสอบ 1 ครั้งต่อปี 6. มีการทดสอบความต้านทานการสึกร่อนของหินโดยเครื่องลอสแองเจลิส (Abrasion Test by Los Angeles Machine) ทดสอบ 1 ครั้งต่อปี |
การใช้งานของหินแต่ละประเภท
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() |